ระยองรีสอร์ท
สถานที่เที่ยวระยอง
ผลงานสุนทรภู่ ประเภทนิราศมี 9 เรื่อง
1. นิราศเมืองแกลง 2350
2. นิราศพระบาท 2350
3. นิราศภูเขาทอง 2371
4. นิราศเมืองเพชร 2371-2374
5. นิราศวัดเจ้าฟ้า 2375
6. นิราศอิเหนา 2375-2378
7. นิราศสุพรรณ 2377-2380
8. รำพันพิลาป 2385
9. นิราศพระประธม 2385-2388
ประเภทนิทาน แยกเป็น ดังนี้ ประเภทนิทานมี ๕ เรื่อง
1. โคบุตร
2. พระอภัยมณี
3. พระไชยสุริยา
4. ลักษณะวงศ์
5. สิงหไกรภพ
ประเภทสุภาษิตมี ๒ เรื่อง
1. สวัสดิรักษา
2. เพลงยาวถวายโอวาท
ประเภทบทละครมี ๑ เรื่อง
1. อภัยนุราช
ประเภทเสภามี ๒ เรื่อง
1. ขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม
2. พระราชพงศาวดาร
ประเภทบทเห่กล่อมมี ๔ เรื่อง
1. จับระบำ
2. กากี
3. พระอภัยมณี
4. โคบุตร
สุนทรภู่ หรือ พระสุนทรโวหาร (ภู่) มีนามเดิมว่า ภู่ เป็นบุตรขุนศรีสังหาร (พลับ) และแม่ช้อย เกิดในรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันจันทร์ เดือนแปด ขึ้นหนึ่งค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช ๑๑๔๘ เวลาสองโมงเช้า ตรงกับวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๒๙ ที่บ้านใกล้กำแพงวังหลัง คลองบางกอกน้อย
สุนทรภู่เกิดได้ไม่นาน บิดามารดาก็หย่าจากกัน ฝ่ายบิดากลับไปบวชที่บ้านกร่ำ เมืองแกลง จ.ระยอง ส่วนมารดา คงเป็นนางนมพระธิดา ในกรมพระราชวังหลัง (กล่าวกันว่าพระองค์เจ้าจงกล หรือเจ้าครอกทองอยู่) ได้แต่งงาน มีสามีใหม่และมีบุตรกับสามีใหม่ ๒ คนเป็นหญิง ชื่อฉิมและนิ่ม
ตัวสุนทรภู่เองได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลังตั้งแต่ยังเด็ก สุนทรภู่เป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน สันทัดทั้งสักวาและเพลงยาว เมื่อรุ่นหนุ่มเกิดรักใคร่ชอบพอกับนาง ข้าหลวงในวังหลัง ชื่อแม่จัน
ครั้นความทราบถึงกรมพระราชวังหลัง พระองค์ก็กริ้ว รับสั่งให้นำสุนทรภู่ และจันไปจองจำทันที แต่ทั้งสองถูกจองจำได้ไม่นาน เมื่อกรมพระราชวังหลังเสด็จทิวงคตในปี พ.ศ. ๒๓๔๙ ทั้งสองก็พ้นโทษออกมา เพราะเป็นประเพณีแต่โบราณที่จะมีการปล่อยนักโทษ เพื่ออุทิศ ส่วนพระราชกุศลแด่ พระมหากษัตริย์หรือพระราชวงศ์ชั้นสูง
สุนทรภู่มรณะเมื่อ วันที่ 26 มิถุนายนพ.ศ. 2398 สิริรวมอายุได้ 69 ปี จึงจัดแต่งตั้งให้วันที่ 26 มิถุนายน เป็นวันสุนทรภู่